วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

พิธีการแต่งงานกับคนตุรกี ไม่มีสินสอด มีแต่ความน่ารัก ยังไงมาดู

คนไทยที่แต่งงานกับคนตุรกีเราต้องเข้าใจก่อนว่า คนตุรกียกเลิกระบบสินสอดไปนานมากแล้ว แต่หันมาใช้วิธีการให้การช่วยเหลือคู่แต่งงานใหม่ของญาติทั้งสองฝ่าย ❤❤ บราโว่ ขอปรบมือให้กับความคิดนี้รัวๆเรามาดูกันดีกว่า ว่าเค้ามีขั้นตอนน่ารักๆ กว่าที่บ่าวสาวจะได้เข้าห้องหออย่างไร??หลังจากที่ทั้งสองคนตกลงปลงใจบอกให้ครอบครัวทั้งสองฝ่ายรับทราบแล้ว


ขั้นตอนที่ 1 พ่อแม่พี่น้องฝ่ายชายไปบ้านฝ่ายหญิงเพื่อสู่ขอ




ก็จะเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใหญ่
ฝ่ายหญิงจะต้องโชว์ฝีมือการปรุงตุรกิชกาแฟ ต้องคอยยกชา เสริฟอาหารของว่างต่างๆ

แต่เราเป็นสะใภ้ต่างแดน ขั้นตอนนี้ก็อาจจะเปิดกล้องคุยกันไปค่ะ ฮิฮิ

หลังจากสู่ขอแล้ว ทั้งสองครอบครัวทำการรู้จักกันให้มากขึ้น
ทั้งสองฝ่ายจะสลับกันเปิดบ้านต้อนรับ เพื่อพูดคุย และ ดูอุปนิสัยใจของทั้งครอบครัว ไม่ใช่แค่คนที่จะมาเป็นลูกเขยหรือลูกสะใภ้ เพราะการแต่งงานของคนตุรกี นั่นคือการแต่งงานกันของทั้งครอบครัวนั่นเองงง

ขั้นตอนที่ 2 งานหมั้น


จะจัดที่บ้าน โรงแรม หรือ สถานที่อื่นๆ ตามงบและความต้องการได้เลย งานหมั้นก็จะมีอาหารเลี้ยง ตัดเค้กเล็กๆ เสริฟชา
การสวมแหวนหมั้นจะมีด้ายแดงผูกระหว่างฝ่ายหญิงและชาย และให้ผู้ใหญ่ที่นับถือฝ่ายชายอวยพรและเป็นคนตัด

ขั้นตอนที่ 3 ให้ของกำนัลบ้านฝ่ายหญิง


ฝ่ายชายจะซื้อของกำนัลให้บ้านฝ่ายหญิงตามกำลังที่มี แทนการให้สินสอดที่เรียกเก็บจากพ่อแม่ฝ่ายหญิงเหมือนในอดีต ซึ่งวิธีการนี้เราขอเรียกว่า พิธีการน่ารัก ลดปัญหาที่เกิดจากการเรียกสินสอด เช่นบางคู่เลี่ยงการแต่งงานเพราะปัญหานี้ บางคู่ต้องเป็นหนี้เป็นสิน ได้น้อยก็อายเหมือนการแข่งขันการทางสังคม ที่ตุรกีจึงยกเลิกการเรียกสินสอด
ของที่ให้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นของใช้ในบ้าน เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า กางเกง กางเกงใน อันนี้เราว่าเกินไปนิดนึงรู้ไซส์ได้ไงว้าาาา  ไม่ใช่แค่ว่าที่เจ้าบ่าว เพื่อนๆ ของว่าที่เจ้าบ่าวก็อาจจะมีแจมซื้อมาให้กับว่าที่เจ้าสาวด้วย ช่วยๆ กันเว้ยยย

 ขั้นตอนที่ 4 งานคือน่าไนท์ Kına gece 

งานนี้เข้าได้เฉพาะสาวๆ เท่านั้น ภายในงานจะเต้นๆๆๆๆๆ มีการตีกลองเปิดตัวฝ่ายหญิง ฝ่ายชาย แล้วก็มานั่งตรงกลาง เพื่อนๆ ก็จะมาล้อมวง ร้องเพลง ดับไฟ และจุดเทียนไขแทน บิ้วกันไปอีก เนื้อหาในเพลงก็จะประมาณ กำลังจะออกจากอกพ่อแม่ ไปสร้างครอบครัวของตัวเอง พ่อแม่เลี้ยงมาโตแล้ว ถึงเวลาต้องจากกัน ประมาณนี้ ฝ่ายหญิงก็จะร้องไห้ๆๆๆๆๆๆ
แล้วก็จะมีการเขียนคือน่าที่ฝ่ามือ และก็แจก คือน่าเป็นของที่ระลึกให้แขกในงาน

 ขั้นตอนที่ 5 ร่วมด้วยช่วยกันเตรียมเรือนหอให้คู่แต่งงานใหม่

น่ารักอีกแล้วววว ใช่ค่ะคู่แต่งงานใหม่ ต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ เยอะมาก การเตรียมเรือนหอใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น ทุกคนจึงยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ซื้อของใช้ในบ้านให้ รวมเงินกันซื้อ เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน ผ้าห่ม ตู้ เตียง  เตารีด เตาอบ ทุกอย่างเท่าที่ ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ จะรวมเงินกันซื้อให้ได้
เราชอบวิธีการนี้ ทำให้คู่แต่งงานใหม่พร้อมในการสร้างครอบครัว ไม่ต้องรอ อายุเยอะๆ หรือ ต้องรวยและพร้อมมากๆ ถึงจะคิดแต่งงานได้ ลดปัญหาการท้องก่อนแต่ง หรือ หนีตามไปเลย เพราะถ้าคุณแต่งงานคุณจะได้อะไรที่ดีกว่าการอยู่แบบไม่แต่ง ถูกขนบธรรมเนียมประเพณี และอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ ลดปัญหาสังคมไปได้เยอะ

ขั้นตอนที่ 6 ไปรับเล่มแดง หรือ สมุดครอบครัวของเรา 

เล่มแดง หรือ ใบสมรส แสดงว่าเราสองคนแต่งงานกันแล้วตามกฎหมาย พิธีการนี้จะจ้างนายอำเภอไปที่งานเราเองก็ได้แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม หรือ จะไปที่อำเภอใกล้บ้าน เค้าจะมีห้อง ฟิลเหมือนโรงหนัง เราต้องจองไปก่อน เค้าจะให้เราส่งรายละเอียด และรูปถ่ายไป พอถึงวันนัด เราจะต้องเตรียมพยานไปสองคน เพื่อนหรือใครก็ได้ แล้วเจ้าหน้าที่จะถามว่าจะรับคุณ ... เป็นสามี เป็นภรรยามั้ย เราก็ตอบ ใช่ Evet ดังๆๆๆๆๆๆๆ ไปเลย

ขั้นตอนที่ 7 อิหม่ามนิกะห์ หรือ การแต่งงานตามศาสนาอิสลาม 

สำหรับคนที่ไม่ใช่อิสลามจะต้องผ่านการเรียนศาสนาและ กล่าวคำรับเข้าเป็นอิสลามก่อน พิธีการนี้ก็จะมีอิหม่าม ทำหน้าที่อ่านกุรอาน เพื่อขอพรให้เรา เราก็ยกมือรับพร แล้วก็ตอบรับการรับเราเป็นภรรยาตามกฎของศาสนา ถือเป็นการแต่งงานอย่างสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 8 พิธีฉลองสมรส 


เห้อออออ ในที่สุดก็มีงานวิวาห์กับเค้าซักที หลังจากผ่านขั้นตอนมาเยอะแยะ
งานวิวาห์ของตุรกีจะมีแบบเต้นร่างพังไปข้าง กับแบบเงียบๆ ให้ญาติๆ มาเจอกันถ่ายรูป กินนิดหน่อย แต่ทั้งสองแบบก็จะมีรูปแบบที่คล้ายกันคือ ตัดเค้ก ติดทองหรือให้เงินบ่าวสาว แทนการใส่ซอง ให้เห็นๆ กันไปเลยว่าใครให้เท่าไหร่ จะมาให้ 50 แล้วเอาถุงพลาสติกมาห่อข้าวกลับด้วยแบบบ้านเราไม่มีนะ งานแต่งตุรกีส่วนใหญ่จะไม่เน้นให้แขกมากิน เพราะของกินคือน้อยมาก น้อยมากจริง เรียกว่า กินไรไปก่อนไปงานแต่งคนตุรกีดีกว่าจะได้ไม่ต้องไปนั่งหิว
แต่จะเน้นไปทีการช่วยเหลือคู่บ่าวสาว   น่ารักอีกแล้ววววว  ติดทองติดเงินที่ตัวของ ทั้งเจ้าบ่าว เจ้าสาวไปเลยยยย  บางคู่นี่ซื้อบ้าน ซื้อรถกันได้เลยนะเออ เราขอคาราวะ

จบ แต่ไม่ซะทีเดียว บางบ้านก็จะให้พรบ่าวสาว ก่อนเข้าเรือนหอ จบค่ะ จบจริงๆ แล้วนะ

ต่อจากนี้ก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยดูแลกันให้ดีนะคะ



วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

จดทะเบียนสมรสกับคนตุรกี (ที่ไทย)

ก่อนจะได้ทะเบียนสมรสมีขั้นตอนดังนี้
(1)ไปอำเภอ
ขอใบรับรองโสดฝ่ายหญิง ที่อำเภอตามภูมิลำเนาที่อยู่ โดยต้องมีญาติไปเป็นพยานด้วย 2 คน
      เอกสารที่ต้องเตรียม
      1.1 สำเนาบัตรประชาชน ของตัวเองและพยาน 1 ชุด
      1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน ของตัวเองและพยาน 1 ชุด
โดยเจ้าหน้าที่เค้าจะถามเราและพยานว่าโสดจริงมั้ยแล้วเราก็จะได้เอกสารรับรองโสดมา

(2) ไปกระทรวงการต่างประเทศ

 เตรียมใบเกิดและใบรับรองโสด
** นำเอกสารทั้ง 2 ใบข้างต้นไปขอคัดสำเนาเป็นภาษาอังกฤษที่สำนักงานเขตแถวบ้านท่านและประทับตราที่กระทรวงการต่างประเทศ**

และเตรียมสำเนาบัตรประชาชน (ไม่ต้องแปล) พร้อมใบคำร้องเพื่อขอรับรองเอกสาร ขอได้จากกระทรวงต่างประเทศ

ยื่นก่อนบ่าย 2 โมงค่าธรรมเนียมชุดละ 400 บาทได้อีก 2 วัน แบบด่วนได้ภายในวันนั้นชุดละ 800 บาทต้องยื่นก่อนเที่ยง

(3) ไปสถานทูตตุรกี
เตรียมเอกสารยื่นดังนี้
1. Evlilik kayit formu search google แล้วโหลดเอาเลยค่าาาา
2. Nüfus kayit örneği  ขอมาจากตุรกี
3. kimlik (ID card) ตัวจริงและถ่ายสำเนา 3 ชุด
4. หนังสือรับรองการทำงาน หากไม่มีให้เขียนขึ้นเอง search google หาตัวอย่างเอาเลยคร้า
5. สำเนาพาสปอรต 1 ชุด
6. พาสปอรตฝ่ายหญิง 3 ชุด
7. ใบเกิดที่ไปประทับตรามา
8. ใบรับรองโสดที่ไปประทับตรามา

จากนั้นสถานทูตจะให้ Marriage of application เป็นภาษาอังกฤษมา

(4) กลับไปกระทรวงต่างประเทศ

เตรียมเอกสารดังนี้
1. สำเนาพาสปรอตฝ่ายชาย 1 ใบ
2. แบบคำร้องขอได้จากกระทรวงต่างประเทศ
3. Marriage of application ไปแปลเป็นภาษาไทย (มีร้านรับแปลหน้ากงศุล) พร้อมประทับตราที่กรมการกงศุลกระทรวงต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายเหมือนด้านบน

(5) ไปสำนักงานเขต บางรัก เพราะเค้าจะเชี่ยวชาญการจดทะเบียนกับชาวต่างชาติมากที่สุด
เอกสารที่ต้องเตรียมไปมีดังนี้
1. สำเนาบัตรประชาชน 2 ใบ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
3. Marriage of application ที่รับรองจากกรมการกงศุลทั้งหน้าภาษาอังกฤษและไทยแล้ว
4. สำเนาพาสปอรตฝ่ายชายหน้าแรก กับ หน้าที่เข้าประเทศล่าสุด
5. ฟอร์มคำร้องขอจดทะเบียนสมรสเอาได้ที่เขต

จดทะเบียนเรียบร้อยเจ้าหน้าที่จะให้ คร 2 และ ทะเบียนสมรส ถ้าเปลี่ยนนามสกุลคตามแฟนก็จะได้ใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย 

(6) กลับไปกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ รอบสุดท้ายแล้วแหละ

เตรียมเอกสารดังนี้
1. สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ
2. แบบคำร้องขอได้จากกระทรวงต่างประเทศ
3. ทะเบียนสมรสและคร 2 ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมประทับตราที่กรมการกงศุลกระทรวงต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายเหมือนด้านบน

(7) ไปสถานทูตตุรกี ยื่นเอกสารครั้งสุดท้าย เพื่อส่งข้อมูลการแต่งงานของเราไปที่ตุรกี
1. สำเนาบัตรประชาชนฝ่ายหญิง 1 ใบ
2. สำเนาพาสปอรตฝ่ายชาย 1 ใบ
3. ทะเบียนสมรสและ คร 2 ที่ได้รับการรับรองจากกรมการกงศุลกระทรวงต่างประเทศแล้ว
4. Marrige Registration Form (Evilik Tescili Dilekçesi) ขอได้จากสถานทูต หรือโทรสอบถามสถานทูต

สถานทูตตุรกี
61/1 ซ.จัดสรร ถนนสุทธิสาร ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
โทร 02-355-5486-87




วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจดทะเบียนสมรสกับคนตุรกี (ที่ตุรกี)

เอกสารที่ต้องเตรียมจากไทย
เอกสารฝ่ายไทย
1. ใบรับรองความโสด ขอได้ที่อำเภอ โดยต้องมีพยานไปด้วย 2 คน
เอกสารที่ใช้คือ
           1.1 บัตรประชาชนของตัวเองและพยานทั้ง 2
           1.2 ทะเบียนบ้านของตัวเองและพยานทั้ง 2 
2. บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
4. หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หากเคยแต่งงานแล้วต้องมีใบรับรองหย่าตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
6. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส รับได้ที่สถานทูตไทยในตุรกี ณ กรุงอังคารา

เอกสารฝ่ายตุรกี
1. สำเนา passport 1 ชุด
2. สำเนา ID card 1 ชุด แปลอังกฤษประทับตราที่ (1)Notari และ ทางการของ (2) Notari ใหญ่ที่จังหวัดนั้นตั้งอยู่ (3) กระทรวงการต่างประเทศตุรกีที่อังคารา
3. สำเนาทะเบียนบ้าน แปลและประทับตราเหมือนข้อ 2
4. ใบรับรองความเป็นโสดขอที่เขต และ ประทับตราเหมือนข้อ 2 

ทั้งคู่จะต้องเดินทางไปที่สถานทูตไทยในตุรกี ณ กรุงอังคารา ด้วยตัวเอง และ ต้องมีพยานไปด้วย 2 คน




ขั้นตอนการขอสูติบัตรไทยให้เด็กที่เกิดที่ตุรกี (กรณีพ่อแม่จดทะเบียนสมรส)

เอกสารที่ต้องเตรียม
1. เอกสารจากโรงพยาบาลที่มีเวลา ส่วนสูง และ น้ำหนักแรกคลอด
2. สำเนาบัตรประชาชนพ่อ
3. ทะเบียนบ้านพ่อให้ไปขอที่เขต
**ข้อ 1-3 แปลอังกฤษและประทับตราที่ (1) Notari public (2) สำนักงานของจังหวัดที่ Notari นั้นตั้งอยู่ (3) กระทรวงการต่างประเทศ **

4. สำเนาบัตรประชาชนแม่ (ของไทย)
5. สำเนาทะเบียนบ้านแม่ (ของไทย)
5. สำเนาพาสปอร์ตพ่อ
6. สำเนาพาสปอร์ตแม่
7. สำเนาทะเบียนสมรสของไทยไม่ต้องแปล ของตุรกีให้แปลภาษาอังกฤษและประทับตรา Notari
8. รูปถ่ายของเด็ก 2 ใบ
10. แบบฟอร์มแจ้งเกิด ขอได้จากสถานทูต

รายละเอียดเพิ่มเติมจากสถานทูต 

** การจดทะเบียนเกิดบุตรต้องนัดหมายล่วงหน้า โดยสามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ +90 312 437 4318 หรืออีเมล์ thaiconsulturkey@gmail.com  

                  **ทั้งบุตรและผู้ปกครอง (บิดาและมารดา) จะต้องมาติดต่อด้วยตนเอง   ที่อังคารา หรือ รอสถานทูต สัญจรจะเดินทางไปให้รับรองเอกสารที่จังหวัดของท่าน**

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการขอสัญชาติตุรกี ง่ายนิดส์เดียว

ข้อมูลนี้สำหรับคนที่แต่งงานกับคนตุรกีครบ 3 ปี  ใครกังวลเรื่องภาษาบอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด
เดินทางไปยัง Valilik ที่อิสตันบูลให้ลงสถานี emniyet-fatih

**** หมายเหตุตั้งปี 2562 เป็นต้นไป ขอคัดสำเนาแปลเอกสารต่างๆ ได้ที่สำนักงานเขตที่ท่านอยู่ได้เลย ไม่ต้องจ้างแปลให้เสียเงินแล้วนะคะ ****

ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร
1. เอกสารที่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ไทย คือใบเกิด และใบเปลี่ยนชื่อ(ถ้ามี) เปลี่ยนนามสกุลตามสามีไม่ต้องนะคะ
1.1 ใบเกิด นำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ขอได้ที่เขต)และประทับตราที่กระทรวงต่างประเทศที่ไทย
1.2 ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (ไม่มีก็ข้ามค่ะ) แปลเป็นภาษาอังกฤษ (ขอได้ที่เขต)และประทับตราเหมือนข้อ1 (จะต้องเสียค่าดำเนินการให้กระทรวงต่างประเทศประมาณ400 บาทต่อชุด

2. เอกสารที่แปลอังกฤษ (ขอได้ที่เขต) ประทับตราแล้วนำไปรับรองที่สถานทูต
ขั้นตอนต่อมานำใบเกิดที่แปลและประทับตราที่กระทรวงต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้นไปรับรองที่สถานทูตตุรกีในไทย หรือ สถานทูตไทยในตุรกีที่อังคาราก็ได้

3. นำเอกสารไปแปลเป็นตุรกี 
1. ใบเกิด 2. ใบเปลี่ยนชื่อ ที่ประทับตราแล้วตามที่กล่าวข้างต้น
3. สำเนาพาสปรอต

นำเอกสารทั้ง3 อย่างนี้ไปรับรองที่Notariราคาแปลต่อแผ่นประมาณ300 TL และจบที่รับรองกระทรวงต่างประเทศที่อังคารา
กรณีไม่สะดวกไปอังคารา  Inbox Facebook มาที่ Alisa Noree มีคนรู้จักสามารถดำเนินการรับรองเอกสารที่สถานทูต,แปลเอกสารเป็นภาษาตุรกี และยื่นเอกสารประทับตราที่อังคาราแทนให้ได้ค่ะ

ข้อควรระวังสำหรับการแปลpassport ถ้าเอกสารคุณแปลแค่ Adı (Name) ให้ใส่ชื่อตามไปเลยไม่ต้องมีBayan แต่ถ้าแปล Title (MR,MRS)ก็ต้องใส่ (Bay, Bayan) ด้วย ไม่งงน๊าาา

4. นำเอกสารยื่นที่ Valilik เอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดมีดังนี้
1. ใบเกิด
2. ใบเปลี่ยนชื่อ
3. พาสปรอต
ทั้ง3ตัว แปลอังกฤษ>แปลตุรกีและประทับตราตามที่กล่าวข้างต้น
4. Kimlik หรือบัตรประชาชนชั่วคราวที่ตุรกีของเราถ่ายเอกสารและนำไปประทับตรา NOTER TASDiKLi örneği ที่Notari บัตรประชาชนต้องมีอายุมากกว่า3 เดือนด้วย
5. ทะเบียนสมรส ให้ขอที่ Nüfus ve Vatandaşlık İşleri Genel Müdürlüğ จะได้ EVLENME BİLDİRİM FORMU มา กรณีจดที่ไทยก็ขอจากที่นั่นได้เลยหากมีปัญหา
6 Nüfus kayıt örneği และ yerleşim yeri belgesi ทะเบียนบ้านของสามีซึ่งระบุว่าเราอาศัยอยู่ที่นั่นด้วย ให้ขอที่ ilçe nüfus müdürlüğü
7. สำเนาบัตรประชาชนสามี 2 ใบ ส่วนเอกสารอื่นๆข้างต้นให้ถ่ายสำเนาเอกสารทุกฉบับอีก 1 ชุด
8. รูปถ่ายปัจจุบัน 2 นิ้ว 2 ใบ
จบขั้นตอนการเตรียมเอกสาร เอกสารควรดำเนินการยื่นภายใน7วันหลังจากที่แปลเป็นภาษาตุรกีและประทับตราที่notariแล้ว
สำหรับคนที่อยู่อิสตันบูลให้ไปเช้าหน่อยนำเอกสารทั้งหมดไปที่ Valilik หาห้อง Vatandaşlık işleri genel müdürlüğu ซึ่งอยู่ชั้นดียวกับทางเข้าเดินตามลูกศรสีแดง ห้องในสุด รับบัตรคิวกดปุ่มที่สอง (dosya açma) กรอกเอกสาร(VAT-6)รับได้ที่informationที่อยู่ในห้องนั้น
เจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสารและให้เราไปจ่ายเงิน 100 TL ที่ธนาคาร ziraat bank ซึ่งเดินไกลจาก Valilik ประมาณ15นาที ก็เหงื่อตกอยู่ แล้วเดินกลับมาหาเจ้าหน้าที่ที่เดิม กดบัตรคิวอีกครั้ง เจ้าหน้าที่จะให้ใบไปรับคิวเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือซึ่งจะอยู่แถว kumkapı göç idaresi müderlüğü (ระบุไว้ในใบที่เจ้าหน้าที่ยื่นให้)นั่งTaxi ไปประมาณ 15 นาที
จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนัดวันให้ไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่ Bayramparça göç ideresi müderlüğü
ติดตามต่อหลังจากยื่นเอกสารและพิมพ์ลายนิ้วมือแล้ว เราจะต้องเจอการสัมภาษณ์และอะไรอีกบ้าง

สัมภาษณ์รอบแรก
11 ธันวาคม 2560
ไปพิมพ์ลายนิ้วมือ ที่จริงวันนัดคือ วันที่ 4 ตุลา ไปช้าไป 2 เดือน ไม่ควรทำตามนะคะ แต่ลืมและติดงานจริงๆ

ยื่นเอกสารที่ต้องเตรียมไปเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ (จะระบุไว้ในใบนัดอยู่แล้วเป็นภาษาตุรกี)
จากนั้นก็ถูกสัมภาษณ์เลย เจ้าหน้าที่เค้าจะไม่ให้เราตั้งตัว บางคนก็มาที่บ้าน
คำถามก็ทั่วๆไป จุดประสงค์คือเค้าจะดูว่าเราเป็นคู่แต่งงานกันจริงหรือจ้างแต่ง ถ้าแต่งงานกันจริงก็ไม่ต้องห่วงอะไรเพราะคำถามก็จะเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน คำถามที่เจอคือ
1. รู้จักกันได้อย่างไร
2. คบกันกี่ปี่ แต่งงานเมื่อไหร่ ที่ไหน
3. แฟนมีพี่น้องกี่คนให้บอกชื่อให้หมด
4. แฟนเคยแต่งงานมารึยัง
5. แฟนทำงานอะไร
6. แฟนกลับบ้านกี่โมง
7. แฟนชอบกินอะไร
8. ทีมฟุตบอลที่แฟนชอบ
9. ทีวีที่บ้านยี่ห้ออะไร
10.ที่บ้านมีรถมั้ยยี่ห้ออะไร
11.แฟนมีโรคอะไรมั้ย
12. มีลูกด้วยกันมั้ย เกิดที่ไหน น้ำหนัก เวลา
ประมาณนี้ใช้เวลาไม่นาน ถ้าเค้าดูแล้วไม่มีพิรุทอะไรก็เร็วค่ะ
ถ้าไม่ได้ภาษาเค้าก็จะพยายามอธิบายเป็นภาษาอังกฤษให้ไม่ต้องห่วงเรื่องภาษา จุดประสงค์อยู่ที่คุณแต่งงานจริงรึเปล่าแค่นั้น

จากนั้นก็เหลือสัมภาษณ์ใหญ่อีกครั้งที่ Valilik ที่เดิม ที่เรายื่นเอกสารครั้งแรก
โดยเค้าจะขอเบอร์ของเราและแฟน แล้วจะส่ง SMS ให้ภายใน 2 เดือน เพื่อนัดวันให้ไปสัมภาษณ์
ติดตามต่อว่าสัมภาษณ์ใหญ่ต้องเจออะไรบ้าง

สัมภาษณ์รอบสอง
วันที่ 6 พ.ย. 2561
จากที่โดนสัมภาษณ์รอบแรกไปแล้ว รอไปอีก 10 เดือน ที่จริงเจ้าหน้าที่บอกจะส่งsms มาให้ภายใน 2 เดือน รอจนลืมแล้วก็ยังไม่มีการติดต่อมา เลยต้องไปถามเอง พอไปถามที่สถานีตำรวจที่เคยพิมพ์ลายนิ้วมือก็บอกว่าเอกสารเพิ่งจะถูกส่งไปที่ Valilik เลยเข้าไปถามที่Vallik ที่เคยยื่นเอกสารก็ได้เรื่องว่าเอกสารเพิ่งมาแล้วเค้าก็ให้วันนัดสัมภาษณ์รอบใหญ่มาเลย คือวันที่ 6 พ.ย. 2561 นัดบ่ายโมงตรงห้ามเลท ที่เดียวกับที่เราไปยื่นเอกสารด้านในสุด แต่อยู่ห้องแรก ที่เขียนว่า Toplantı odası
เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อให้เข้าไปสัมภาษณ์ตามคิวหน้าห้องนั้น และจะให้ตามเค้าขึ้นสัมภาษณ์ที่ชั้นสอง

เอกสารที่ต้องใช้คือพาสปรอต บัตรประชาชนชั่วคราว รูปถ่ายของตัวเองและของสามี คนละ1 ใบ

สัมภาษณ์ใหญ่ครั้งสุดท้าย 
คำถามที่ถูกสัมภาษณ์ จะคล้ายๆกับการสัมภาษณ์ครั้งแรก แต่เร็วกว่า เพราะมีคนรอสัมภาษณ์เยอะมาก
ของเราใช้เวลา 5 นาทีได้มั้ง
เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง
เข้าไปจะเป็นโต๊ะประชุมตัวใหญ่ มีเจ้าหน้าที่ 5 คน
แต่สัมภาษณ์เราแค่คนเดียว
ถามว่า
1. รู้จักกับแฟนได้ยังไง
2. คบกันกี่ปีก่อนแต่งงาน
3. แต่งงานเมื่อไหร่ที่ไหน
4. มาตุรกีครั้งแรกเมื่อไหร่ มาเพราะอะไร
5. มีลูกมั้ย ชื่ออะไรอายุเท่าไหร่
6. สามีทำงานอะไร
7. บ้านที่อยู่เป็นบ้านเช่าหรือบ้านตัวเอง
8. อยู่ที่ไหน

จากนั้นเค้าจะให้เรียกสามีเข้ามา ก็จะถามคำถามที่เคยถามเราก่อนหน้านี้ ว่าตอบตรงกันมั้ย

แค่นี้จริงๆค่ะ ของเราเร็วมาก แบบคนก่อนหน้านี้ยังนานกว่านี้

เจ้าหน้าที่บอกว่ารอประมาณ 4 เดือน เพราะเค้าต้องส่งเรื่องไปอังคาราให้อนุมัติก่อน จากนั้นจะส่ง sms แจ้งให้ทราบ

ขั้นตอนสุดท้าย
วันที่ 10 มิถุนายน 2562
จากที่เจ้าหน้าทีบอกว่าให้รอประมาณ 4 เดือนจะส่ง sms มาให้ แต่ก็ไม่มี sms ใดๆ สรุปรอไป 7 เดือน เลยเข้าไปเว็บ https://vatan.nvi.gov.tr/moduller/basvuru/basvurudurumbilgi.aspx?fbclid=IwAR1M0f_hkqQN2nE-IVP46TCpgfarHW2MhGP8MqeY9DQmXO0-Mv_IUqSbNMQ กรอกเลขที่สมัคร ให้เรียบร้อย ก็ขึ้นมาว่าให้ไปรับเอกสารที่  Valilik ได้ ที่จริงน่าจะได้นานแล้ว แต่ก็มัวรอแต่ sms ไง ยังไงเพื่อนๆ เชคเองในเว็บเป็นระยะดีกว่านะคะ

ไป Valilik  ถ่ายสำเนาบัตรประชาชนชั่วคราว 1 ใบ  และเจ้าหน้าที่บอกว่าเรียบร้อย ให้นัดวันเวลาเพื่อที่จะทำบัตรประชาชนได้เลย เข้าไปในเว็บ Nüfus Müdürü เขตบ้านของตัวเอง แล้วไปตามนัด

ไปที่เขต เตรียมรูปถ่าย 2*2 นิ้ว ขนาดเดียวกับที่ทำพาสปรอต เจ้าหน้าที่จะพิมพิ์ลายนิ้วมือ แล้วก็ให้เอกสารแทนบัตรประชาชนมาให้ใช้ชั่วคราว จากนั้น

รอประมาณ 2 วันก็จะได้บัตรประชาชนตัวจริงที่ส่งมาจากอังคารา

เท่านี้เราก็จะเป็นประชาชนตุรกีมีสิทธิ์เท่าเทียมกับคนตุรกีทุกอย่างแล้ว ไชโยยยยยย
ส่วนเรื่องเอกสารต่างๆหากมีข้อสงสัย
สอบถามเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่โดยตรงได้ที่
เบอร์ 0212-518-2080 กด1